สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
 
 
หัวข้อสัมมนา

ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

  • การจัดการความรู้กับการวิจัย
  • นักจัดการความรู้ท้องถิ่นและนักพัฒนาสายพันธุ์ใหม่
  • จัดการความรู้ “เราอยู่ตรงไหน และจะไปไหน”
  • เส้นทางสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
  • การจัดการความรู้เพื่อการจัดการงานวิจัย
  • การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพอุดมศึกษา
  • องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้
  • ความรู้บูรณาการสู่สังคมไทย
  • การสร้างและใช้องค์ความรู้ในสังคมไทย
  • การจัดการความรู้ สู่มหาวิทยาลัยวิจัย

หมายเหตุ: หัวข้อและเนื้อหาการบรรยายจะถูกปรับเปลี่ยนได้ตามเนื้อหาที่จำเป็นต่อองค์กร และสถาบัน


ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด

  1. การจัดการความรู้: จากหลักการสู่การปฏิบัติ (KM: From Principle to Practice)

    การจัดการความรู้ หรือ KM ถึงจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปก็ยังติดอยู่กับทฤษฎี . . . บางทีอาจจะสามารถอธิบายได้ว่า KM คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? แต่ครั้นพอให้ไปลงมือทำจริงๆ ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร? ในการสัมมนานี้ท่านจะได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างจริงของการนำ KM ไปใช้ อีกทั้งยังได้สัมผัสกับกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ติดกรอบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นจนให้ท่านสามารถนำ KM ไปใช้ได้จริง

  2. จากการจัดการความรู้ สู่การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (From KM to LO)

    คำถามคาใจสำหรับหลายๆ ท่านที่สนใจในเรื่อง KM และ LO ก็คือคำถามที่ว่า . . . “KM และ LO นั้น “เหมือนหรือต่างกัน” อย่างไร? ในการสัมมนานี้ท่านจะได้รับความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว โดยที่ท่านจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง KM กับ LO ในแง่มุมใหม่ที่จะทำ ให้ท่านเลิกทุกข์ใจเรื่องการใช้ KM และการสร้าง LO

  3. จากการจัดการความรู้ สู่การสร้างนวัตกรรม (From KM to Innovation)

    แม้ KM จะเป็นเรื่องที่หลายท่านรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่การสัมมนานี้จะเปิด “มุมมองใหม่” เพื่อให้ท่านเห็นว่ากระบวนการ KM สามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร อีกทั้งยังได้เน้นย้ำ ให้เห็นความสำคัญของ “จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์” และตอบคำถาม ที่ว่าทำไม “กรอบความคิด” ที่ตายตัว และการรับรู้อย่าง “ไม่มีสติ” นี้จึงเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ต่อการสร้างนวัตกรรม

  4. แผนที่ผลลัพธ์กับการจัดการความรู้ (Outcome Mapping and KM)

    ปัจจุบันคำ ว่า “แผนที่ผลลัพธ์” หรือ OM เริ่มเป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้นทุกที แผนที่ผลลัพธ์คืออะไร? เหมาะกับงานประเภทไหน? ท่านจะได้รับความกระจ่างจากการสัมมนานี้ผ่านกรณีตัวอย่างมากมายที่ได้ทดลองใช้เทคนิคดังกล่าว และจะได้เห็นพลังของการนำ OM และ KM มาใช้ด้วยกัน . . . จนเกิดโมเดลใหม่ที่เรียกว่า “Strategic KM”

  5. ทำเรื่อง ใหญ่ให้เป็นเรื่องโตด้วย OM (OM for Change Management)

    การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาใดๆ ก็ตาม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมาดปรารถนา . . . OM สอนให้เรา “ฝันให้ใหญ่” . . . แล้วบอกว่าต้องทำ อย่างไรจึงจะ “ไปถึง” ฝันที่วางไว้ นี่คือสิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้จากการสัมมนานี้ . . . OM หรือ Outcome Mapping เป็นเทคนิคการวางแผน ติดตาม และประเมินงาน ที่จะทำ ให้ท่านสามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถสร้างการเรียนรู้ พัฒนางานได้อย่างต่อเนื่องและมีความสุข

    หมายเหตุ: หัวข้อและเนื้อหาการบรรยายจะถูกปรับเปลี่ยนได้ตามเนื้อหาที่จำเป็นต่อองค์กร และสถาบัน

คอร์สอบรม และ Workshops ที่จัดให้องค์กรต่างๆ


  • Dialogue (สุนทรียสนทนา) : รากฐานการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

หลักสูตรนี้เป็นการพัฒนาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ Dialogue (สุนทรียสนทนา) เพื่อการเปลี่ยนแปลงทักษะของบุคคลในระดับรากฐาน นำไปสู่ในระดับทีมงาน และเสริมพลังการใช้เครื่องการจัดการความรู้อื่นๆ ในการสร้างสรรค์และพัฒนาไปสู่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในที่สุด

ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน


  • KM for Change Agent & Facilitator Workshop

เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อปรับตัว ปรับวิธีคิด หัดมองตัวเองอย่างประณีต ดึงตัวเองออกจากกรอบที่มีอยู่เดิม พัฒนาศักยภาพการเป็น Change Agent และ Facilitator ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศอิสระ เพื่อนำไปสู่การทำงานที่สร้างสรรค์นวัตกรรม และทำให้เกิดความสุข เน้นการเรียนรู้จากภายในของผู้เข้าร่วมเอง เน้นการเสริมสร้างในด้านจิตใจ เปิดใจ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ คิดเชิงบวก (Soft-side management)

ระยะเวลา 4 วัน หรือ 3 วัน หรือ 2 วัน


  • KM Play & Learn Workshop (Facilitator Workshop)

การจัดการความรู้และทักษะการใช้การจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถเรียนรู้ให้เข้าใจได้จริงจากการฟังบรรยาย หรืออ่านจากหนังสือ แต่ต้องทดลองปฏิบัติและสัมผัสด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการและบรรยากาศที่หลากหลาย สนุก ท้าทาย และไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด 

ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน หรือ 2 วัน1 คืน


  • KM Planning การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Outcome Mapping Part1)

การพัฒนาวัฒนธรรมขององค์กรอย่างยั่งยืนให้สามารถเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ย่อมมาจากการเปลี่ยนวิถีคิด เปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์กร ดังนั้นการวางแผนที่ดีอย่างเป็นระบบ จะทำให้เห็นภาพการพัฒนาสมรรถนะและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในองค์กรอย่างชัดเจนสามารถ กำหนดแนวทางการผลักดันได้อย่างตรงเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน


  • Monitoring & Evaluation for Learning and Development การติดตามประเมินที่เพลิดเพลินกับการเรียนรู้

เพื่อการติดตามประเมินผลอย่างมีสีสัน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และสามารถนำไปพัฒนาได้อย่างสร้างสรรค์
- เรียนรู้การประยุกต์ใช้ Outcome Mapping
- เรียนรู้การประยุกต์ใช้ Balanced Scorecard
- เรียนรู้การประยุกต์ใช้ Knowledge Management

ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน


  • KM / LO Monitoring & Evaluation Or (Outcome Mapping Part2)

มิใช่เพื่อการตัดสินความเป็นความตาย นี่คือหลักคิดที่นำมาสู่การสร้างกระบวนการติดตามและประเมินผลการใช้การจัดการความรู้ โดยใช้แนวคิด Empowerment Evaluation (EE)

ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน


หมายเหตุ: หัวข้อ เนื้อหา และกำหนดการ ข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาจากการอบรมที่ สคส. เคยจัดให้เท่านั้น
              หัวข้อ เนื้อหา และกำหนดการ จริงจะถูกปรับให้เหมาะสมกับองค์กร และสถาบันแต่ละแห่งที่เข้ามาติดต่อ

 

คอร์สอบรม และ Workshops สำหรับบุคคลทั่วไป
ตารางหลักสูตร ปี ๒๕๕๒
จัดโดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)


สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
อาคาร เอส เอ็ม ชั้น 23 เลขที่ 979 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-298-0664-8 โทรสาร. 02-298-0057 email:

Copyright ©  Knowledge Management Institute (KMI)   All Rights Reserved